วันพุธที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2559

เครื่องมือในการคิดเชิงระบบและการวิเคราะห์ปัญหาที่ 3 ด้วยการเขียนผังความคิด (Mind Map)

เขียนผังความคิด (Mind Map)

คือ การถ่ายทอดความคิด หรือข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่ในสมองลงกระดาษ โดย การใช้ภาพ สี เส้น และการโยงใย แทนการจดย่อแบบเดิมที่เป็นบรรทัดๆ เรียงจากบนลงล่าง ขณะเดียวกันมันก็ช่วยเป็นสื่อนำข้อมูลจากภายนอก เช่น หนังสือ คำบรรยาย การประชุม ส่งเข้าสมอง ให้เก็บรักษาไว้ได้ดีกว่าเดิม ซ้ำยังช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ได้ง่ายเข้า เนื่องจะเห็นเป็นภาพรวม และเปิดโอกาสให้สมองให้เชื่อมโยงต่อข้อมูลหรือ ความคิดต่าง ๆ เข้าหากันได้ง่ายกว่า “ใช้แสดงการ เชื่อมโยงข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งระหว่างความคิดหลัก ความคิดรอง และความคิดย่อยที่ เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน” ผังความคิด (Mind Map)

ขั้นตอนการสร้าง Mind Map
 1. เขียน/วาดมโนทัศน์หลักตรงกึ่งกลางหน้ากระดาษ
 2. เขียน/วาดมโนทัศน์รองที่สัมพันธ์กับมโนทัศน์หลักไปรอบ ๆ
 3. เขียน/วาดมโนทัศน์ย่อยที่สัมพันธ์กับมโนทัศน์รองแตกออกไปเรื่อย ๆ
 4. ใช้ภาพหรือสัญลักษณ์สื่อความหมายเป็นตัวแทนความคิดให้มากที่สุด
 5. เขียนคำสำคัญ (Key word) โดยใช้คำ/ประโยคสั้น ๆ บนเส้นและเส้นต้องเชื่อมโยงกัน
 6. กรณีใช้สี ทั้งมโนทัศน์รองและย่อยควรเป็นสีเดียวกัน
 7. คิดอย่างอิสระมากที่สุดขณะทำ เขียนคำหลัก หรือข้อความสำคัญของเรื่องไว้กลาง โยงไป ยังประเด็นรองรอบ ๆ ตามแต่ว่าจะมีกี่ประเด็น

ข้อดีของการทำแผนที่ความคิด
 1. ทำให้เห็นภาพรวมกว้าง ๆ ของหัวข้อใหญ่ หรือขอบเขตของเรื่อง
 2. ทำให้สามารถวางแผนเส้นทางหรือตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง เพราะรู้ว่าตรงไหนกำลังจะไป ไหนหรือผ่านอะไรบ้าง
 3. สามารถรวบรวมข้อมูลจำนวนมากลงไว้ในกระดาษแผ่นเดียวกัน
 4. กระตุ้นให้คิดแก้ไขปัญหา ระดมสมองเป็นทีม โดยเปิดโอกาสให้มองเห็นวิธีใหม่ ๆ ที่ สร้างสรรค์
 5. สร้างความเพลิดเพลินในการอ่านและง่ายต่อการจดจำ

แนวทางการเขียน Mind Map
 1. เริ่มที่ตรงกลางด้วยรูปหรือหัวข้อ ใช้สีอย่างน้อย 3 สี
 2. ใช้รูป, สัญลักษณ์, รหัส, ความหนา ตลอดที่ทำ mind map
 3. ให้เขียนคำสำคัญโดยใช้ตัวพิมพ์ใหญ่หรือพิมพ์เล็ก
 4. คำแต่ละคำ หรือรูปแต่ละรูป จะต้องอยู่บนเส้นของตัวเอง
 5. เส้นแต่ละเส้นต้องเชื่อมต่อกัน โดยมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ตรงกลางภาพ เส้นที่อยู่ตรงกลางจะ มีขนาดหนา และจะยิ่งบางลงเมื่อห่างจากศูนย์กลาง
 6. ขนาดความยาวของเส้นที่ลาก ยาวเท่ากับค าหรือรูป
 7. ใช้สี รหัสส่วนตัว ตลอดที่ทำ mind map
 8. พัฒนารูปแบบ mind map ของตัวเอง
 9. ใช้วิธีเน้นข้อความ และแสดงความเป็นกลุ่มก้อนใน mind map
10. การสื่อความหมายผังความคิด (mind map) ให้เข้าใจง่ายโดยการแบ่งความสำคัญเริ่ม จากตรงกลาง ใช้การเรียงลำดับตัวเลข หรือใช้เส้นร่างเพื่อรักษาความเป็นกลุ่มก้อนของแต่ละกิ่ง

               ผังความคิด ซึ่งสามารถเขียนได้ด้วยมือ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ชื่อ โปรแกรม XMIND version 7.0 เป็นโปรแกรม Mind Map Open source ที่ไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์สามารถ download ได้ที่เว็บไซต์ www.xmind.net มีรุ่นที่น่าสนใจคือรุ่น Portable สามารถนำไปใช้งานผ่าน การเสียบ Handy drive USB โดยไม่ต้องมีการติดตั้งลงไปในเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรม XMIND สามารถนำไปใช้งานได้ทั้งบนระบบปฏิบัติการWindowsและMacโดยสามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://www.xmind.net/download/win/ นอกจากนี้ยังสามารถเขียนด้วยโปรแกรมการนำเสนอ ออนไลน์ด้วย โปรแกรม Prezi ที่ http://www.prezi.com/



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น